messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ call ข้อมูลการติดต่อ
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
image สถานที่สำคัญ
 
info_outline วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์หน่วยงาน
วิสัยทัศน์การพัฒนา “คุณภาพชีวิตดี ชุมชนเข้มแข็ง แหล่งชีววิถี การคมนาคมสะดวก ชาวประชามีส่วนร่วม” คำขวัญองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ “พุทธปฏิมาคู่บ้าน คลองชลประทานชุ่มฉ่ำ ก้าวนำชีววิถี ข้าวดีหอมนิล ถิ่นปลาอุดม สมนามฝางคำ” ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ ได้ดำเนินการกำหนดนโยบายและแนวทางการพัฒนาของ องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำไว้ (จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ ๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ๒. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมคุณภาพชีวิต ๓. ยุทธศาสตร์การจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย ๔. ยุทธศาสตร์การวางแผนและส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว ๕. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๖. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ๗. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พันธกิจ ๑. พัฒนาระบบไฟฟ้าการคมนาคมทางน้ำและทางบก ๒. ส่งเสริมการเกษตร กลุ่มอาชีพ การศึกษาและระบบสาธารณสุข ๓. จัดระเบียบชุมชน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๔. ส่งเสริมการค้าและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ๕. ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๖. อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและเผยแพร่ประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ๗. พัฒนาระบบบริหารและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ เป้าประสงค์ ๑. ไฟฟ้า การคมนาคม และการบริการสาธารณะสะดวกทั่วถึง ๒. ประชาชนมีอาชีพเสริมและมีรายได้อย่างเพียงพอ คุณภาพชีวิตที่ดี ให้ประชาชนมีสุขภาพดี ๓. ช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยของประชาชนเพิ่มขึ้น สังคมดี มีคุณธรรม บ้านเมืองน่าอยู่ ๔. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ดีกินดี ประชาชนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ๕. ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตของชุมชน ๖. ส่งเสริมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันดีงานสู่สังคม ๗. พัฒนาบุคลากรและระบบบริหารจัดการภาครัฐ นโยบายการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ ได้แถลงนโยบายการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ มีทิศทางที่ชัดเจนครอบคลุมภารกิจตามอำนาจหน้าที่ ไว้ ๗ ด้าน ซึ่งมีนโยบายและแนวทางในการดำเนินงานต่างๆ ดังนี้ ๑. นโยบายการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทุกชนิดเพื่อรองรับความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ และให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำและแผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาของจังหวัดอุบลราชธานี โดยดำเนินการดังนี้ ๑.๑ ดำเนินการก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนน และสะพาน ๑.๒ ดำเนินการก่อสร้างรางระบายน้ำ และวางท่อระบายน้ำ ๑.๓ ดำเนินการติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ ๑.๔ ดำเนินการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ ๑.๕ ดำเนินการจัดระบบจราจร การคมนาคม มีที่พักคอยรถประจำทางและอื่นๆ ๑.๖ ดำเนินการขยายเขตระบบประปาหมู่บ้าน ๑.๗ ดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน ๑.๘ ดำเนินการปรับปรุง สนับสนุนระบบการสื่อสาร สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ๒. นโยบายการส่งเสริมคุณภาพชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ช่วยเหลือเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และประชาชนที่ทุกข์ยากมีความเดือดร้อน ให้สามารถดำรงชีวิตที่ดีตามสมควร และพัฒนาด้านสาธารณสุขมูลฐานของหมู่บ้าน การดำเนินการป้องกันโรคติดต่อต่างๆ โดยดำเนินการดังนี้ ๒.๑ ส่งเสริมกลุ่มอาชีพ/การรวมกลุ่มอาชีพ แก่เกษตรกร ๒.๒ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์การเกษตร ๒.๓ ดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออก ๒.๔ ดำเนินการป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ๒.๕ ส่งเสริมด้านสาธารณสุขมูลฐานแต่ละหมู่บ้าน ๓. นโยบายการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ตำบลฝางคำและบริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ น่าอยู่ มีความร่มรื่น ไร้มลภาวะและการดำเนินการป้องกันและช่วยเหลือด้านสาธารณภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยดำเนินการดังนี้ ๓.๑ สนับสนุนหน่วยงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๓.๒ ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนจากสาธารณภัยต่างๆ ๔. นโยบายการวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจของ อบต. โดยส่งเสริมอาชีพ และยึดหลักเศรษฐกิจเพียงพอ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชน ส่งเสริมการสร้างงาน และให้การส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยดำเนินการดังนี้ ๔.๑ ส่งเสริม การท่องเที่ยวในชุมชน ๔.๒ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ๔.๓ ตั้งศูนย์ท่องเที่ยวประจำตำบล ๔.๔ เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการนักท่องเที่ยว ๔.๕ ส่งเสริมการลงทุนพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ๕. นโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ตำบลฝางคำและบริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ น่าอยู่ มีความร่มรื่น ไร้มลภาวะและการดำเนินการป้องกันและช่วยเหลือด้านสาธารณภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยดำเนินการดังนี้ ๕.๑ จัดหาแหล่กำจัดขยะ บ่อกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ ๕.๒ ส่งเสริมการป้องกันและกำจัดยุงลาย ๕.๓ ส่งเสริมการปรับปรุงภูมิทัศน์และกำจัดวัชพืช ๖. นโยบายการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมด้านการศึกษาของโรงเรียนและศูนย์ กศน. พัฒนาจัดระบบการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีมาตรฐานและส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา บูรณะวัดและโบราณสถาน โดยดำเนินการดังนี้ ๖.๑ ส่งเสริม และอนุรักษ์ประเพณีของท้องถิ่น ๖.๒ ตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ๖.๓ แหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ๗. นโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมด้านการพัฒนาการเมืองการบริหาร เพื่อให้สถาบันที่มีความมั่นคง และปรับปรุงการจัดระบบการบริหารภายในองค์กร สามารถอำนวยความสะดวกด้านการบริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูง โดยการดำเนินการดังนี้ ๗.๑ พัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงานส่วนท้องถิ่น ๗.๒ พัฒนาบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๗.๓ พัฒนาสิ่งแวดล้อมการทำงานในสำนักงานให้น่าอยู่ ๗.๔ จัดหาเครื่องอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบุคลากรองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ๗.๕ ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจพอเพียง

insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
สภาพภูมิประเทศ
ลักษณะเป็นพื้นที่ราบ ดินเป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลางถึงต่ำ มีแหล่งน้ำที่สำคัญซึ่งได้แก่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร มีพื้นที่รับน้ำจากลำคลองชลประทานลำโดมน้อย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการเกษตรกรรมในหน้าแล้ง

เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.คันไร่ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.โนนกลาง อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร และต.ช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.ดอนจิก อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ ๑.ด้านกายภาพ ประวัติความเป็นมา ประวัติความเป็นมาของตำบลฝางคำ เดิมที่ตำบลฝางคำขึ้นอยู่กับ ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลฯ มีทั้งหมด ๑๑ หมู่บ้าน ต่อมาเมื่อปี ๒๕๑๑ ได้สร้างอ่างเก็บน้ำนิคมฯลำโดมน้อย หรือ เขื่อนสิรินธร ประชาชนบ้างส่วนในบริเวณดังกล่าวจึงได้ย้ายมาก่อตั้งบ้านใหม่ ขึ้นอยู่กับ ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลฯมีทั้งหมด ๙ หมู่บ้าน ต่อมาได้แยกเป็นตำบลฝางคำ และได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ตำบลฝางคำขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอสิรินธรตลอดมาจนถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด ๔ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑ บ้านคำก้อม หมู่ที่ ๒ บ้านฝางเทิง หมู่ที่ ๓ บ้านโนนจิก หมู่ที่ ๔ บ้านคำกลาง กำนันของตำบลฝางคำตั้งแต่คนแรกถึงคนปัจจุบัน ดังนี้ ๑. นายกอบกิจ พิกุลสวัสดิ์ ๒. นายผุย แก่นทน ๓. นายวิศิษฐ์ ญาวงศ์ ๔. นายบุญมี บุญดิเรก ๕. นายบุญมี พิกุล ๖. นายสุระชัย ญาวงศ์ ๗. นายสมพงษ์ สาปัดสี ๘. นายคำหล้า อ้วนผิว ( พ.ศ. ๒๕๕๘ – ปัจจุบัน) ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ ๑ บ้านคำก้อม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ซึ่งแยกการปกครองมาจาก ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหาร โดยการนำของ นายเคน จันทร์ส่อง อพยพราษฎรมาจากบ้านดอนจิก ตำบลดอนจิก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน ๕ ครัวเรือน ต่อมาได้มีราษฎรอพยพมาจากหมู่บ้านอื่นๆมาตั้งถิ่นฐานจนเป็นชุมชนใหญ่ขึ้นและมีผู้ใหญ่บ้านตามลำดับ ดังนี้ ๑. นายเคน จันทร์ส่อง ๒. นายหมุน อรุณรัตน์ ๓. นายเดช นาคูณ ๔. นายคำมี บุญกอ ๕. นายเจียง ปราสาทศรี ๖. นายทองอุ่น ดวงคำ ๗. นายผุย แก่นทน ๘. นายวิศิษฐ์ ญาวงศ์ ๙. นายบุญมี บุญดิเรก ๑๐. นายสุระชัย ญาวงศ์ ๑๑. นายสมคิด บุญช่วย (ปัจจุบัน) ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ ๒ บ้านฝางเทิง บ้านฝางเทิง หมู่ที่ ๒ ตำบลฝางคำ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เดิมอยู่หมู่ที่ ๗ ตำบลฝางคำ อำเภอพิบูลมังสาหาร ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีห้วยใหญ่ ๒ ห้วย คือ ห้วยฝาง และห้วยคำ ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจาก ตำบลพิบูลมังสาหาร ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๑๑ มีการสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร ประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๒ น้ำท่วมหมู่บ้านไม่สามารถอยู่ที่เดิมได้ จึงได้ย้ายหมู่บ้านมาตั้งอยู่ในที่ดินของ นายคูณ แสนทวีสุข ที่อุทิศให้ชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนใหม่และยังคงใช้ชื่อหมู่บ้านเดิมว่า “ฝางเทิง” จนถึงปัจจุบัน มีผู้ใหญ่บ้านตามลำดับดังนี้ ๑. นายบุญมา เสาหิน ๒. นายบุญมี แก้วดอน ๓. นายศรี ฝางคำ ๔. นายอ่อนสี แก่นคำ (ปัจจุบัน) ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ ๓ บ้านโนนจิก บ้านโนนจิก หมู่ที่ ๓ ตำบลฝางคำ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เดิมแยกมาจากบ้านหนองหว้าห้วยตาหน่วย (เป็นคุ้มบ้านหนึ่งของบ้านหนองมะเกลือ ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหาร) เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยมีนายขำ เชื้อโชติ , นายสา วรรณรมย์ , นายนวล ทองล้อม และนายใบ เจนจบ เป็นกลุ่มผู้นำ เข้ามาตั้งถิ่นฐานในที่ปัจจุบัน ซึ่งเดิมมีสภาพเป็นป่ารก มีต้นจิกจำนวนมากและเป็นพื้นที่โนน จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “ บ้านโนนจิก” เดิมเป็นหมู่ที่ ๑๖ ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายใบ เจนจบ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมามีการแยกการปกครอง ตำบลโนนกลาง ออกเป็นตำบลฝางคำ ยังขึ้นกับ อำเภอพิบูลมังสาหาร ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้มีพระราชกฤษฏีกา ตั้งอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยแยกตำบลจากอำเภอพิบูลมังสาหาร ๕ ตำบล (รวมทั้งตำบลฝางคำ) และแยกจากอำเภอโขงเจียม ๑ ตำบล จึงทำให้หมู่บ้านโนนจิก หมู่ที่ ๓ ตำบลฝางคำ ขึ้นการปกครองกับอำเภอสิรินธร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และมีผู้ใหญ่บ้านตามลำดับดังนี้ ๑. นายใบ เจนจบ ๒. นายหนู เชื้อโชติ ๓. นายสา ศิลาชัย ๔. นายชุมพล เครือคำ ๕. นายสมบัติ สายสะโน ๖. นายสมพงษ์ สาปัดสี ๗. นายพยาหงค์ทอง สาปัดสี (ปัจจุบัน) ประวัติความเป็นมาของหมู่ที่ ๔ บ้านคำกลาง บ้านคำกลางก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยแยกออกจากบ้านคำก้อม หมู่ที่ ๑ ตำบลฝางคำ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีผู้ใหญ่บ้านตามลำดับดังนี้ ๑. นายบุญมี พิกุล ๒. นายคำหล้า อ้วนผิว (ปัจจุบัน) ที่ตั้งและขนาด องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ๑ ใน ๕ องค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอสิรินธร ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ เลขที่ ๑๒๒ บ้านคำกลาง หมู่ที่ ๔ ตำบลฝางคำ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๙ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางขึ้นอยู่กับ อำเภอสิรินธร อยู่ทางทิศตะวันตก ของอำเภอสิรินธร ห่างจากอำเภอสิรินธร ประมาณ ๘ กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ ๖๕ กิโลเมตร เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๗.๖๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๔,๗๖๒.๕๐ ไร่ อาณาเขต องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต่างๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลคันไร่ อำเภอสิรินธร ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหาร ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลดอนจิก อำเภอพิบูลมังสาหาร ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ ดินเป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สำหรับทำนา ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร และมีคลองส่งน้ำชลประทานไหลผ่าน ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการเกษตรทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ มีจำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ จำนวน ๔ หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ๑ บ้านคำก้อม ๒ บ้านฝางเทิง ๓ บ้านโนนจิก ๔ บ้านคำกลาง การศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ มีสถานศึกษา/แหล่งที่ให้ความรู้กับ เด็ก นักเรียน จำนวน ๕ แห่ง ดังนี้ ๑. โรงเรียนบ้านคำก้อม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษา ถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ขยายโอกาส) ๒. โรงเรียนบ้านฝางคำสามัคคี ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษา (ป.๑-ป.๖) ๓. โรงเรียนบ้านโนนจิก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ บ้านโนนจิก เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษา (ป.๑-ป.๖) ๔. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์วัดเจริญทัศน์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านคำก้อม ๕. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฝางเทิง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านฝางเทิง ศาสนาพุทธ ศาสนะสถาน หมู่ที่ ว/ด/ป ที่ก่อตั้ง พื้นที่ (ไร่) เจ้าอาวาสปัจจุบัน วัดเจริญทัศน์ ๑ ๒๔๘๔ ๑๐ ๗ ๕๑ พระสุวัฒน์ธรรมพิบูลย์ วัดสิทธิอุดม ๒ ๒๕๑๒ ๑๓ ๓ - พระปลัดบุญเลิศ กาญาโณ วัดโนนจิกน้อย ๓ ๒๕๑๐ ๗.๒ ๒ - พระคานโชติบุญโญ ศาสนาคริสต์ ศาสนาคริสต์ หมู่ที่ ว/ด/ป ที่ก่อตั้ง พื้นที่ (ไร่) ผู้ดูแลโบสถ์ โบสถ์ศริสตจักร์ ๒ ๒๕๒๔ ๒ งาน ๑๕ นายสุนทร คูณสว่าง สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (คำก้อม) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ มีหน่วยที่ให้ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จำนวน ๑ แห่ง ดังนี้ ๑. ป้อมยามตำรวจชุมชนตำบลฝางคำ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านคำก้อม บุคลากรตำรวจ จำนวน ๖ คน ๒. อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนตำบลฝางคำ จำนวน ๖๗ คน สถานที่ท่องเที่ยว / แหล่งโบราณวัตถุ ๑. ภูมิทัศน์ริมเขื่อนสิรินธร ที่มีความสวยงามเป็นธรรมชาติตลอดแนวหมู่บ้านทั้ง ๔ หมู่บ้าน ๒. วัดเจริญทัศน์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาสิรินธร ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พระราชทานแก่ชาวจังหวัดอุบลราชธานีเป็นพระพุทธรูปแบบสุโขทัย ปางห้ามญาติสูงประมาณ ๓.๔๑ เมตร ๓. วัดสิทธิอุดม เป็นวัดประจำหมู่บ้านฝางเทิง หมู่ที่ 2 ตำบลฝางคำ อำเภอสิรินธร ๔. วัดบ้านโนนจิกน้อย เป็นวัดประจำหมู่บ้านโนนจิก หมู่ที่ 3 ตำบลฝางคำ อำเภอสิรินธร ๕. หาดดอนสะเวิน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวติดริมเขื่อนสิรินธร เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านคำกลาง ๑. นักบริหารงานท้องถิ่นระดับกลาง (ปลัด อบต.) จำนวน ๑ อัตรา (ว่าง) ๒. นักบริหารงานท้องถิ่นระดับต้น (รองปลัด อบต.) จำนวน ๑ อัตรา ๓. สำนักงานปลัด จำนวน ๒๔ อัตรา ๓.๑ อำนวยการท้องถิ่นระดับต้น (หน.สนง.ปลัด) จำนวน ๑ อัตรา ๓.๒ วิชาการปฏิบัติการ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผน) จำนวน ๑ อัตรา(ว่าง) ๓.๓ วิชาการปฏิบัติการ (นักทรัพยากรบุคคล) จำนวน ๑ อัตรา ๓.๔ ทั่วไปปฏิบัติงาน (จพง ธุรการ) จำนวน ๑ อัตรา ๓.๕ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายฯ(ลูกจ้างตามภารกิจ) จำนวน ๑ อัตรา ๓.๖ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล(ลูกจ้างตามภารกิจ) จำนวน ๑ อัตรา ๓.๗ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันฯ(ลูกจ้างตามภารกิจ) จำนวน ๑ อัตรา ๓.๘ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ (ลูกจ้างตามภารกิจ) จำนวน ๒ อัตรา ๓.๙ คนงานทั่วไป (ลูกจ้างตามภารกิจ) จำนวน ๒ อัตรา ๓.๑๐ คนงานทั่วไป(ลูกจ้างเหมา) จำนวน ๙ อัตรา อำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับด้านบริหารทั่วไป ด้านนโยบายและแผน ด้านกฎหมายและคดี และด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๔. กองคลัง จำนวน ๔ อัตรา ๔.๑ อำนวยการท้องถิ่นระดับต้น (ผอ.กองคลัง) จำนวน ๑ อัตรา (ว่าง) ๔.๒ วิชาการปฏิบัติการ (นักวิชาการเงินและบัญชี) จำนวน ๑ อัตรา (ว่าง) ๔.๓ ทั่วไปปฏิบัติงาน (เจ้าพนักงานพัสดุ) จำนวน ๑ อัตรา ๔.๔ ทั่วไปปฏิบัติงาน (จพง.การเงินและบัญชี) จำนวน ๑ อัตรา ๔.๕ ทั่วไปปฏิบัติงาน (จพง.จัดเก็บรายได้) จำนวน ๑ อัตรา ๔.๖ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่งาน(ลูกจ้างเหมา) จำนวน ๒ อัตรา อำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับการเงิน บัญชี พัฒนาและจัดเก็บรายได้ และทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ ๕. กองช่าง จำนวน ๖ อัตรา ๕.๑ อำนวยการท้องถิ่นระดับต้น (ผอ.กองช่าง) จำนวน ๑ อัตรา (ว่าง) ๕.๒ ทั่วไปปฏิบัติงาน (นายช่างโยธา) จำนวน ๑ อัตรา ๕.๓ ผู้ช่วยช่างโยธา (ลูกจ้างตามภารกิจ) จำนวน ๑ อัตรา ๕.๔ คนงานทั่วไป (ลูกจ้างเหมา) จำนวน ๓ อัตรา อำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับการช่าง ควบคุมงาน ออกแบบ เขียนแบบ ประมาณการงานก่อสร้าง ๖. กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน ๑๐ อัตรา ๖.๑ อำนวยการท้องถิ่นระดับต้น (ผอ.กองการศึกษา) จำนวน ๑ อัตรา (ว่าง) ๖.๒ วิชาการปฏิบัติการ (นักวิชาการศึกษา) จำนวน ๑ อัตรา ๖.๓ ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา (ลูกจ้างตามภารกิจ) จำนวน ๑ อัตรา ๖.๔ ครู (ศด.๑) จำนวน ๓ อัตรา (ว่าง๑) ๖.๕ ผู้ดูแลเด็ก (จ้างเหมา) จำนวน ๑ อัตรา ๖.๖ คนงานทั่วไป (จ้างเหมา) จำนวน ๓ อัตรา อำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของท้องถิ่น การจัดอาหารเสริม(นม) อาหารกลางวันของโรงเรียน ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และนันทนาการ ของท้องถิ่น ๗. กองสวัสดิการสังคม จำนวน ๔ อัตรา ๗.๑ อำนวยการท้องถิ่นระดับต้น (ผอ.กองสวัสดิการฯ) จำนวน ๑ อัตรา ๗.๒ วิชาการปฏิบัติการ (นักพัฒนาชุมชน) จำนวน ๑ อัตรา ๗.๓ ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน (ลูกจ้างตามภารกิจ) จำนวน ๑ อัตรา ๗.๔ คนงานทั่วไป (จ้างเหมา) จำนวน ๑ อัตรา อำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ทางสังคม เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพผู้พิการ ผู้ป่วย HIV กองทุนสวัสดิการชุมชน จำนวนบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ ตามโครงสร้าง ปัจจุบันประกอบด้วย คณะผู้บริหาร จำนวน ๔ คน สมาชิกสภา จำนวน ๖ คน พนักงานส่วนตำบล จำนวน ๑๔ คน พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน ๙ คน พนักงานจ้างเหมา จำนวน ๑๗ คน รวมทั้งสิ้น จำนวน ๕๐ คน